วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

ตะไคร้หอม

ตะไคร้หอม Cymbopogon nardus Rendle วงศ์ POACEAE (GRAMINEAE) ชื่อท้องถิ่นตะไคร้แดง จะไคมะขูด ตะไครมะขูด คาหอม ไคร จะไคร เซิดเกรยตะไคร้ ห่อวอตะโป่ หัวสิงโต เหละเกรย Lapine, Lemongrass,West Indian lemongrass



ลักษณะพืช

เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้า ลำต้นตั้งตรง สูง 2 เมตร ออกเป็นกอใบเกลี้ยง รูปยาวแคบ กว้าง 5-20 มม. ยาวได้ถึง 1 เมตร มีกลิ่นหอมตรงรอยต่อระหว่างใบกับกาบ มีแผ่นรูปไข่ปลายตัดยื่นออกมา ยาวประมาณ 2 มม. มีขนกาบหุ้มติดทน กาบล่างสุดเกยซ้อนกัน เมื่อแห้งจะม้วนขึ้น ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 80 ซม.มีใบประดับ ลักษณะคล้ายกาบ ยาวประมาณ 25 มม. รองรับอยู่ ช่อดอกแยกเป็นหลายแขนง แต่ละแขนงมีช่อย่อย 4-5 ช่อ ผลแห้งไม่แตก ตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้กอ ต่างกันที่กลิ่น ต้นและใบยาวกว่าตะไคร้กอมาก แผ่นใบกว้างยาวและนิ่มกว่าเล็กน้อย



ประโยชน์


1. ต้นสด นำมาแต่งกลิ่นอาหารเป็นเครื่องเทศ เช่นเป็นส่วนผสมของเครื่องแกงต่าง ๆ ต้มยำ ยำต่าง ๆ หรือทำเป็นน้ำตะไคร้ได้

2. ใบตะไคร้ ส่วนปลายนำมาใช้รูดปลาไหลให้หายเมือกลื่น หรือนำมาขยำกับเลือดไก่ เลือดหมูเพื่อดับกลิ่นคาว และช่วยไม่ให้เลือด แข็งตัวเร็ว

3. เมื่อนำตะไคร้มากลั่นด้วนไอน้ำจะไก้น้ำมันหอมระเหยที่เรียกว่า Lemon grass oil ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องสำอาง น้ำหอม และวิตามินเอ

4. นำตะไคร้มาบดผสมกับสะเดา แล้วนำมาละลายน้ำใช้ฉีดไล่แมลงในสวนผลไม้

5. ตะไคร้สด ๆสามรถกินแก้เมาค้าง หรือดับกลิ่นเปล้าเบียร์ก็ได้





การปลูก



ใช้หน่อหรือเหง้าชอบขึ้นในดินร่วนซุย น้ำไม่ขัง ชอบแดดมากส่วนที่ใช้เป็นยา ใบและกาบใบ



สรรพคุณ

ยาไทย ต้นแก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหง เป็นแผลในปาก) สตรีมีครรภ์รับประทาน ทำให้แท้ง บีบรัดมดลูก ขับลมในลำใส้ แก้แน่น ตะไคร้หอมได้ถูกนำมาใช้ไล่แมลง อย่างแพร่หลายนานมาแล้ว โดยละลายน้ำมันตะไคร้หอม 7 ส่วน ผสมในแอลกอฮอล์ (70%) 93 ส่วนฉีดพ่นหรือตำใบสดหมักในแอลกอฮอล์ใน อัตราส่วน 1:1 ทาตรงขอบประตู ที่ปิดเปิดเสมอ หรือชุบสำลีแขวนเอาไว้หน้าประตูเข้าออก หรือใช้ใบตะไคร้หอม มัดแล้วทุบให้ช้ำวางใว้ตามมุมห้องหรือใต้เตียง


สรรพคุณทางยา

ตะไคร้มีฤทธิ์อุน รสเผ็ด รักษาโรคหืด แก้อหิวาตกโรค ขับเหงื่อ แก้หวัด ลมเย็น ปวดศีรษะ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงไต แก้ปัสสาวะ เป็น เลือด

หัว รักษากลาก แก้อาการขัดเบา

ใบสด ช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้

ราก เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย

ต้น แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตกปลาย

1. เมื่อนำตะไคร้สดมาต้ม ดื่มแต้น้ำ ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ขับลมในลำไส้ บรรเทาอาการไอ รักษาอาการอ่อนเพลีย

2. รักษาข้อเท้าแพลง ปวดบั้นเอว ปวดเกร็งตามร่างกาย โดยนำตะไคร้สดทุบพอแตกขยี้ทาบริเวณที่เป็น

3. น้ำมันตะไคร้แก้อาการปวดบวมตามข้อโดยใช้ทาบริเวณที่ปวด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อรา ไล่ยุง และแมลงต่าง ๆ


วิธีการนำไปรับประทาน


1. นำตะไคร้ไปปรุงรสอาหารเพื่อดับกลิ่นคาว และช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอม เช่นใช้ต้นใส่ในอาหารประเภทยำ ต้มยำ แกงส้ม น้ำยา และเป็นส่วนผสมในน้ำพริกแกงเผ็ด

2. นำไปทำเป็นน้ำตะไคร้ โดยนำตะไคร้มาหั่นเป็นท่อน ๆ ต้มในน้ำเดือด 1-2 นาที ใส่น้ำตาลลงไปเล็กน้อย อย่าต้มนานถ้าต้มนานจะเหม็นเขียว ใช้ดื่มแบบร้อน หรือผสมน้ำแข็งดื่มตามต้องการ



ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์


ใบและกาบใบมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมี Geraniol และ Citronellalเป็นส่วนประกอบสำคัญ มีฤทธิ์ในการไล่แมลง